“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

 

        

         ตามข่าวหนังสือพิมพ์จะมีบุคคลทั้งใน และนอกวงการ ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด เกิดจาก

 

1.   หลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนั่นเอง ปัจจัยเสี่ยงของการเหล่านี้

แบ่งได้ดังนี้

  • กลุ่มที่อายุน้อย ก็จะเกิดจากบุหรี่ ประวัติครอบครัว
  • กลุ่มที่อายุมากจะเกิดจาก ความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันสูง

 

2.    กลุ่มนักกีฬา เป็นกลุ่มที่พบภาวะนี้มาก  ส่วนใหญ่มักจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวแต่กำเนิด (HOCM) เช่น นักฟุตบอล นักกรีฑา เป็นต้น

 

3.    กลุ่มที่มีโรคหัวใจอยู่แล้ว เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ  โรคไหลตาย เป็นโรคกรรมพันธุ์ ซึ่งเกิดจากไฟฟ้าในหัวใจมีวงจรที่ผิดปกติ   

 

         เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ทุกส่วนในร่างกายจะหยุดทำงาน การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ที่มีประสิทธิภาพในเวลาอันรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ พบว่า ถ้าเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันภายในชุมชน จะสามารถช่วยผู้ป่วยได้ประมาณ 10% ถ้าเกิดในโรงพยาบาล จะสามารถช่วยได้มากกว่านั้น คนทั่วไปหรือคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในสาธารณะที่ผ่านการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพมาแล้วและมีเครื่องกระตุกหัวใจ (AED) ก็จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยชีวิต ทำให้มีผู้รอดชีวิตมากขึ้น

(สำหรับรายละเอียดในการช่วยฟื้นคืนชีพ ให้ดูจากบทความที่เกี่ยวข้อง)

 

 

เรียบเรียงโดย นพ.เกรียงไกร เฮงรัศมี

หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์หัวใจ สถาบันโรคทรวงอก

 701
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์