“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

สัญญาณอันตราย ภัยร้ายจากงานหนัก

สัญญาณอันตราย ภัยร้ายจากงานหนัก

การขยันทำงานเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่าร่างกายคนเราไม่ใช่เครื่องจักร ขืนป่วยขึ้นมาละก็ งานสะดุด แถมยังเสียเงินค่ารักษาไปเปล่าๆ ปลี้ๆ อีกด้วย

งานวิจัยในวารสาร Annals of Internal Medicine ระบุว่าผู้ที่ทำงานต่อเนื่องกว่า 11 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ทำงาน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เรียกได้ว่ายิ่งทำงานมาก ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมาก

งานวิจัยนี้ใช้เวลาถึง 12 ปี ติดตามคนวันทำงาน 7,000 คน ผลก็คือผู้ที่ทำงานอย่างต่ำ 11 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสเป็นโรคหัวใจล้มเหลวมากกว่าผู้ที่ทำงานต่ำกว่า 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญ พ่วงด้วยอาการนอนไม่หลับอีกด้วย

ส่วนคณะเวชศาสตร์ป้องกัน มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล เกาหลีใต้ ได้ตีพิมพ์บทความในวารสาร “เวชศาสตร์อุตสาหกรรมอเมริกัน” สรุปได้ว่า…

  • ผู้ที่ทำงาน 61-70 ชม./สัปดาห์ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงกว่าปกติร้อยละ 42
  • ผู้ที่ทำงาน 71-80 ชม./สัปดาห์ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงกว่าปกติร้อยละ 63
  • ผู้ที่ทำงานมากกว่า 80 ชม./สัปดาห์ จะเสี่ยงมากถึงร้อยละ 90 หรือเกือบเท่าตัว!

อีกเรื่องที่ควรรู้คือ “สัญญาณอันตราย” ขณะทำงาน เช่น แน่นหน้าอก ปวดแขน กราม สะบัก หรือต้นคอ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หายใจไม่ทัน เหนื่อยง่าย หอบ หากเกิดสัญญาณดังกล่าว ควรหยุดทำงานแล้วรีบไปพบแพทย์ เพราะสัญญาณดังกล่าวอาจส่ออันตรายถึงชีวิต

 1631
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์