“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

ดูแลผู้สูงวัย ให้อารมณ์สดใส หัวใจแข็งแรง

ดูแลผู้สูงวัย ให้อารมณ์สดใส หัวใจแข็งแรง

สำหรับผู้สูงวัย เรื่องอารมณ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่สุด  ผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อยมีอาการซึมเศร้า รู้สึกเหงา ขาดความรัก คิดว่าตนไม่เป็นที่ต้องการ เนื่องจากเป็นเพราะเมื่อเกษียณจากงานแล้ว ไม่มีทั้งตำแหน่งและเงินเดือน ทำให้รู้สึกว่าตนเองด้อยค่าลง ดังนั้นลูกหลานจึงต้องไม่แสดงให้ผู้สูงวัยรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระหรือไม่เป็นที่ต้องการ  โดยมีวิธีต่างๆ ดังนี้

  1. ควรให้ผู้สูงวัยมีส่วนร่วมในการดูแลครอบครัวตามพละกำลัง เช่น ฝากให้ดูแลหลานหรือสัตว์เลี้ยงเพื่อคลายเหงา แต่ไม่ใช่ว่าให้ดูแลทั้งวัน เพราะนั่นจะยิ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้สูงวัย
  2. ลูกหลานควรหมั่นพูดคุย ขอคำแนะนำและคำอวยพรจากผู้สูงวัย ให้ความนับถือเสมือนเป็นคนสำคัญของบ้าน
  3. ควรให้ผู้สูงวัยควรได้เข้าสังคม สานสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านในวัยเดียวกัน หรือเข้าชมรมผู้สูงอายุ เมื่อมีคนพูดคุยอย่างเข้าใจก็จะทำให้ผู้สูงวัยอารมณ์ดี มีความสุข
  4. นอกจากการดูแลจากคนรอบข้างแล้ว  ผู้สูงวัยเองก็ควรใส่ใจดูแลอารมณ์ตัวเอง ไม่ให้ตกอยู่ในอารมณ์ด้านลบมากเกินไป วิธีที่ดีที่สุดคือการตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง การเป็นสายใยของครอบครัว ให้คำปรึกษาและเป็นกำลังใจให้กับลูกหลานได้  ผลสะท้อนกลับมาก็คือ ผู้สูงวัยจะเพิ่มความนับถือตนเองมากขึ้น ช่วยป้องกันหรือลดอาการซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ดูแลและครอบครัวควรหมั่นสังเกตอารมณ์ของผู้สูงวัยอยู่เสมอ ถ้าพบอาการซึมเศร้า เช่น รู้สึกเซ็ง เศร้าเสียใจ หรือหงุดหงิดโดยไม่มีเหตุผล เบื่อหน่ายสิ่งต่างๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป อ่อนเพลียโดยไม่มีสาเหตุ คอยตำหนิตนเอง ก็ควรปรึกษาแพทย์  โดยไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติหรือน่าอายแต่อย่างใด

 

 420
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์