“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

ดนตรีบำบัด ศาสตร์แห่งการพักผ่อนสมอง

ดนตรีบำบัด ศาสตร์แห่งการพักผ่อนสมอง

ดนตรีบำบัด (Music Therapy) การใช้กิจกรรมทางดนตรี หรือองค์ประกอบอื่นทางดนตรี มาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถนำไปช่วยเหลือในผู้ป่วยโรคต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ อาการบาดเจ็บทางสมอง ความพิการและความเจ็บปวดทางร่างกาย เป็นต้น รวมถึงในคนปกติทั่วไปสำหรับใช้คลายความเครียด และการพักผ่อนสมอง

 

องค์ประกอบของดนตรี และประโยชน์ที่เกิดขึ้น

  1. จังหวะหรือลีลา (Rhythm) การจับจังหวะของดนตรีได้จะช่วยเสริมสร้างสมาธิและการเลือกฟังดนตรีจังหวะช้าถึงปานกลางจะช่วยให้สมองได้ผ่อนคลายจากความเครียด
  2. ระดับเสียง (Pitch) เสียงระดับต่ำและสูงปานกลางจะช่วยทำให้รู้สึกสงบ มีสติและสมาธิ
  3. ความดัง (Volume/Intensity) เสียงที่เบาและนุ่ม ทำให้เกิดความสงบสุข สบายใจ เสียงดังเหมาะสมช่วยให้เกิดสมาธิควบคุมสติอารมณ์ได้ แต่ในขณะที่เสียงดังมากอาจจะทำให้เกิดอาการเกร็ง หรือกล้ามเนื้อกระตุกได้
  4. ทำนองเพลง (Melody) ความต่อเนื่องของทำนองเพลงจะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล และช่วยทำให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  5. การประสานเสียง (Harmony) ช่วยควบคุมระดับอารมณ์ให้อยู่นิ่งเมื่อได้รับฟังเสียงประสานจากบทเพลงต่างๆ

 

นอกจากนี้ ยังพบว่าดนตรีบำบัดยังช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้มองโลกในเชิงบวก กระตุ้นพัฒนาการและทักษะการเรียนรู้ การสื่อสารและการใช้ภาษา การเคลื่อนไหวและความคงตัวของกล้ามเนื้อ และที่สำคัญมีส่วนช่วยเพิ่มระดับความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ รวมถึงเสริมสร้างความจำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

 

เอกสารอ้างอิง

-กองการแพทย์ทางเลือก(2560) ดนตรีบำบัด,  งานถ่ายทอดเทคโนโลยี กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

-กลุ่มดนตรีบําบัด (2554) แนวทางการใช้ดนตรีบําบัด สําหรัผู้ป่วยและผู้พิการทางกาย พ.ศ. 2554 ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 15784
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์