“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”
  • หน้าแรก

  • อารมณ์

  • อยากให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุข มาเริ่มฝึกสติบำบัดตั้งแต่เด็กกันเถอะ

อยากให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุข มาเริ่มฝึกสติบำบัดตั้งแต่เด็กกันเถอะ

  • หน้าแรก

  • อารมณ์

  • อยากให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุข มาเริ่มฝึกสติบำบัดตั้งแต่เด็กกันเถอะ

อยากให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุข มาเริ่มฝึกสติบำบัดตั้งแต่เด็กกันเถอะ

คนที่ฝึกสติ ทำให้มีความสุขมากขึ้น มีสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาว หลายครั้งที่คนจะไม่สามารถแยกสติกับสมาธิออกจากกันได้ ซึ่งอันที่จริงแล้วสมาธิคือการจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่ง เช่น ลมหายใจอย่างต่อเนื่อง แต่สติคือการรับรู้สิ่งที่เข้ามาสัมผัสในปัจจุบัน เข้าใจ แต่ควบคุมได้ ไม่เผลอไปกับสิ่งที่เข้ามา ในชีวิตประจำวันถ้าทำอะไรอยู่ การมีสติทำให้สิ่งที่กำลังกระทำได้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ในโลกปัจจุบัน ที่สิ่งกระตุ้นอยู่รอบตัว ทำให้มนุษย์รู้สึกว่าตัวเองต้องเปรียบเทียบกับคนอื่นอยู่ตลอดเวลา คิดว่าชีวิตยังต้องดิ้นรน ยังขาด ยังไม่สมบูรณ์ แล้วคิดว่าตนเองไม่มีความสุข จนบางคนเผลอในการใช้ชีวิตแบบขาดสติ ทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิต เกิดอุบัติเหตุ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้

 

การฝึกพัฒนาสติทำได้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยมีหลักการอยู่ 2 ข้อ

1. ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี : เริ่มฝึกจากผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดหรือพ่อแม่ก่อน

ถ้าพ่อแม่ไม่ฝึกตนเองไปพร้อมกับลูก การพูดบอกอย่างเดียวคงไม่สามารถช่วยได้ ต้องแสดงให้เด็กเห็นการกระทำด้วย  

2. อย่าคาดหวังมากเกินไป : เพราะจะกลายเป็นความกดดันและระเบิดอารมณ์ได้ อาจเกิดเหตุการณ์เมื่อลูกไม่เป็นอย่างที่คาด พ่อแม่จะแสดงภาวะขาดสติแทน ให้เด็กได้ฝึกทักษะด้วยตัวของเขา ค่อยๆ พัฒนาไปตามวัยและเวลาทีฝึก พ่อแม่จะค่อย ๆ ช่วยให้เขารับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น

 

วิธีการฝึกมีอะไรบ้าง

  • การใช้เสียงระฆังเตือนให้ทุกคนหยุดนิ่งชั่วขณะ ขณะกำลังพูดคุยกันหรือถกเถียงกัน
  • การเดินอย่างมีสติในสวน เป็นกิจกรรมสานสัมพันธ์สมาชิกในครอบครัวด้วย
  • การใช้เวลาก่อนนอนในการมีกิจกรรมฝีกการหายใจ นั่งสมาธิ หรือสวดมนต์ ทำอย่างสม่ำเสมอ และการมีคนทำไปพร้อมกัน จะช่วยเด็กให้ฝึกได้ง่ายขึ้น
  • การใช้สิ่งที่เด็กสนใจเป็นแรงจูงใจ เช่น ในการ์ตูนที่เด็กชื่นชอบมาเป็นตัวแทน ถึงเวลาที่พีหมีพูห์จะนั่งนิ่ง ๆแล้วเป็นต้น
  • การใช้กิจวัตรประจำวันในการฝึก เช่น เวลารับประทานอาหารเย็นของครอบครัว สมาชิกจะนั่งลงและพูดถึงสิ่งที่เรากำลังจะทำ ไม่เล่นโทรศัพท์หรือดูทีวี
  • การใช้ความเงียบ เช่น ก่อนจะทำกิจกรรมอะไร ให้ฝึกการหายใจและการอยู่กับลมหายใจชั่วขณะก่อนเสมอ
  • การอยู่กับกิจกรรมในธรรมชาติ การสังเกตธรรมชาติรอบตัว
  • การทำสิ่งที่ดีให้กับคนอื่นหรือแม้แต่กับคนในครอบครัว ให้รู้จักการเอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ

 

นอกจากเป็นการฝึกเด็กให้มีสติเพิ่มเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็งในอนาคตแล้ว สำหรับพ่อแม่เอง ถือเป็นเวลาที่จะได้ผ่อนคลายจากการทำงาน มาใช้เวลาอยู่ในครอบครัว สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นอีกด้วย 

        

 

เอกสารอ้างอิง

พญ. พรรณพิมล วิปุลากร (2560) สติบำบัด, นิตยสาร Health Today ฉบับเดือนกรกฏาคม 2560

 

 

 

        

 542
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์