“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”
  • หน้าแรก

  • อารมณ์

  • ใจเรากำลังเหนื่อยหน่ายในการทำงานอยู่หรือเปล่า ถึงเวลาลุกขึ้นสู้แล้ว

ใจเรากำลังเหนื่อยหน่ายในการทำงานอยู่หรือเปล่า ถึงเวลาลุกขึ้นสู้แล้ว

  • หน้าแรก

  • อารมณ์

  • ใจเรากำลังเหนื่อยหน่ายในการทำงานอยู่หรือเปล่า ถึงเวลาลุกขึ้นสู้แล้ว

ใจเรากำลังเหนื่อยหน่ายในการทำงานอยู่หรือเปล่า ถึงเวลาลุกขึ้นสู้แล้ว

 

            ก่อนอื่นต้องทดสอบก่อนว่าเรามีลักษณะเป็นคนหมดไฟ เป็นที่เข้าข่ายไม่อยากทำงานแล้วจริงหรือไม่ จากการศึกษาทางจิตวิทยาทำให้พบข้อสรุปถึงลักษณะของบุคคลที่เหนื่อยหน่ายในการทำงานไว้  ดังนี้

 

1.มีความอ่อนล้าทางอารมณ์   แค่คิดว่าจะทำงานก็รู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกหมดแรง ไม่อยากไปทำงาน อาจจะมาทำงานสายหรือขาดงานบ่อย

2.มีการลดความเป็นมนุษย์ในตัวผู้อื่น/เพื่อนร่วมงานลดลง  จนขาดความเห็นอกเห็นใจ ขาดความเมตตา ไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น มีทัศนคติทางลบกับเพื่อนร่วมงานหรือคนที่มาติดต่องานด้วย

3.รู้สึกว่าตนไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ประเมินตนเองทางลบ ไม่สามารถเผชิญปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ ไม่สนุกกับการทำงาน มีพลังในการทำงานลดลง ขาดเป้าหมายในการทำงาน ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ความสามารถในการควบคุมตนเองลดลง

 

หากข้อใดที่ตรงกับเราแปลว่า นั่นอาจหมายถึง เรากำลังเหนื่อยหน่ายกับการทำงานอยู่ ซึ่งจำเป็นมากที่ต้องลุกขึ้นสู้ และให้กำลังใจกับตนเองมากๆ ซึ่งก็มีถึง 6 เทคนิคในการกระตุ้นความตั้งใจในการทำงานมาฝากกันค่ะ

- ลองมองหาคุณค่าและความหมายในงานที่เราทำ คุณค่าและความหมายของงานอาจเกิดจาการที่เรามองเห็นประโยชน์ของงานที่มีต่อตัวเราเอง ต่อผู้อื่น และต่อส่วนรวม ตระหนักได้ว่าตัวเราเองมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ มองเห็นความสำเร็จของตน จดจำความสำเร็จแทนที่จะนั่งนึกถึงแต่ความล้มเหลว

- ทำความเข้าใจเป้าหมายของหน่วยงานให้ชัดเจน  เพื่อสร้างเป้าหมายในการทำงานของเราให้ชัดเจนและสอดคล้องกับหน่วยงาน ตระหนักไว้ว่าความสำเร็จของเราก็คือความสำเร็จของหน่วยงาน

- สร้างเป้าหมายในการทำงานที่เป็นเป้าหมายใหม่ และสร้างเป็นเป้าหมายระยะสั้นที่มองเห็นความเป็นไปได้ที่จะทำได้สำเร็จ  เพื่อนำไปสู่การบรรลุผลในเป้าหมายใหญ่  เมื่อตั้งเป้าหมายและวางแผนการทำงานได้ตรงความเป็นจริงก็จะมีกำลังใจที่จะทำงานชิ้นต่อไป

- หากเรารู้สึกไม่อยากทำอะไรเกี่ยวกับงานเลยจริงๆ ให้ลองหากิจกรรมอื่นๆมาแทรกขั้นกลาง เพื่อให้เรารู้สึกตื่นตัว และพร้อมที่จะทำงาน  เช่น ทำความสะอาดโต๊ะทำงานจัดเอกสาร หรือออกไปเดินเล่น หรือเล่นกีฬาฯ หรือหาเพื่อนคุย

- ค้นหาแรงบันดาลใจในการทำงานจากภายในตัวเรา 

- มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น

 

           

เอกสารอ้างอิง

คณาจารย์คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2556) ชีวิตไม่ยาก MAKE LIFE EASIER, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:กรุงเทพฯ

 

 

    

 397
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์