“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

10 วิธีบริหารจิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยอดเยี่ยม

10 วิธีบริหารจิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยอดเยี่ยม

 

 

การมีทักษะที่ไม่ถูกต้องในการจัดการความเครียด ก่อให้เกิดความเครียดและปัญหาสุขภาพมากมายตามมา ซึ่งโรคหัวใจก็เป็นหนึ่งของปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น ความเครียดหรือความวิตกกังวลเมื่อขึ้นแล้ว ร่างกายจะสร้างสารที่เรียกว่า “อะดรีนาลิน”  ซึ่งมีฤทธิ์ทำ ให้หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้นขึ้น จนทำให้หลอดเลือดบีบตัว เสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง เสี่ยงทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวได้ง่าย และ เกิดภาวะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจ นำไปสู่โรคหัวใจในที่สุด  ดังนั้น การจัดการความเครียดที่ถูกต้อง จึงเป็นสำคัญที่จะ ให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถและทักษะของตนเองในการบริหารจัดการอารมณ์ให้ดี ไร้ซึ่งความวิตกกังวลอยู่เสมอ

 

10 วิธีบริหารจิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยอดเยี่ยม (จาก นพ.สุรเกียรติ อาซานานุภาพ ในหนังสือหมอชาวบ้าน) กล่าวไว้ว่า

1. .ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ว่ายจะเป็นว่ายน้ำ รำมวยจีน โยคะ เนื่องจากการออกกำลังกายสามารถบริหารจิตไปในตัวโดยการใช้สติระลึกรู้อยู่กับจังหวะการเคลื่อนไหว

2. นอนหลับให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง การนอนหลับดีมีผลต่อการพัฒนาสมอง หลีกเลี่ยงการอดนอนและการมีอารมณ์เครียดติดต่อกันนานๆ เพราะมีผลลบต่อร่างกาย สมองและจิตใจเป้นอย่างยิ่ง

3. บริโภคอาหารสุขภาพตามหลักธงโภชนาการ บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

การลดหวาน มัน เค็ม หันมากินปลา กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น และหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา บุหรี่ และสารเสพติด

4. หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โดยการอ่าน การฟัง การค้นคว้า การหาประสบการณ์ใหม่ๆ การคิดใคร่ครวญ การถาม การ

บันทึกตามหลัก “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” ควบคู่กับการฝึกใช้ความคิดเป็นประจำ

5. ฝึกสมาธิ เช่น ฝึกอานาปานสติ สวดมนต์ ไหว้พระ เดินจงกรม อธิษฐานจิตวันละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง นานครั้งละ5-10 นาที ช่วยให้จิตใจมั่นคงสงบนิ่ง ไม่วอกแวกได้

6. เจริญสติ-รู้ตัวกับอิริยาบถและกิจกรรมต่างๆ มีความตื่นรู้อยู่กับปัจจุบัน เช่น ระลึกรู้ตัวอยู่

กับการนั่ง นอน ยืน เดิน การเคลื่อนไหวจังหวะ ทำกิจวัตรประจำวัน

7. ฝึกใช้ลมหายใจเป็นระฆังแห่งสติ เราสามารถตามรู้ลมหายใจเข้า-ออก รู้เนื้อ รู้ตัว รู้สติตลอดเวลา

8. ฝึกพักใจและสมองเป็นระยะๆ ในแต่ละวัน เช่น หยุดคิด โดยหันมาชื่นชมธรรมชาติ หรือศิลปะ นานครั้งละ ½ ถึง 1 นาที

ในสวน นั่งปล่อยวางอารมณ์อย่างเงียบๆ

9. เจริญปัญญาจากการสังเกตธรรมชาติของสรรพสิ่ง คิดเสมอว่า “ทุกสิ่งล้วนมีการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป” เป็นธรรมดา ไม่ควรยืดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น ควรใช้ปัญญามองทุกสิ่งตามความเป็นจริงตามเหตุปัจจัย

10. ฝึกคิดดี-พูดดี-ทำดี ให้เป็นนิสัย นอกจากนี้ควรหมั่นมีจิตอาสา ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

 

 

เอกสารอ้างอิง

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข หนังสือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดการความเครียด สำหรับวัยทำงาน

 26134
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์