“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

เครียดมากไป หัวใจอ่อนแอ สมองเสื่อมเร็ว

เครียดมากไป หัวใจอ่อนแอ สมองเสื่อมเร็ว

ยิ่งนานวันความเครียดก็ยิ่งสะสมมากขึ้น หาทางผ่อนคลายก็ลำบาก ความเครียดทางจิตใจ ความไม่พอใจ ความไม่แน่ใจ ความตกใจ หรือกังวลใจล้วนแต่เป็นตัวกระตุ้นความเครียดให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน จะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย เช่น โรคความดันโลหิต ภาวะไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจและยังมีผลต่อสุขภาพสมอง โดยการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ความเครียดทำให้สมรรถภาพความจำลดลง เพราะการถดถอยของใยเซลล์ประสาทภายในสมองนั่นเอง อย่างไรก็ตาม หากเราสามารถผ่อนคลายจากอาการเครียดที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องได้ เซลล์สมองส่วนที่ช่วยในการจดจำก็จะกลับมาทำงานเป็นปกตินั่นเอง

 

ผลวิจัยโดยศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เผยว่า คนที่มีความเครียด รู้สึกกระวนกระวาย วิตกกังวล มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่เครียดน้อยถึง 27 เปอร์เซ็นต์ โดยมีการติดตามผลต่อเนื่องตลอด 14 ปี เพื่อศึกษาความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เพราะความเครียดยังทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตที่สูงขึ้นนี้ อาจไปทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว เกิดภาวะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจ นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจวายได้ในที่สุด และเมื่อศึกษาลงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและโรคหัวใจ พบว่าอายุมากขึ้นความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและโรคหัวใจก็ยิ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ในการศึกษาของทางประเทศแคนาดา ยังพบว่าผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจและสามารถจัดการอารมณ์ความเครียดของตนเองได้ดี จะทำให้มีอายุยืนยาวกว่า 10 ปี เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่สามารถจัดการความเครียดของตนเองได้

 

แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายเกิดความเครียด

 

วิธีจัดการความเครียดแบบง่ายๆ ทำได้ทันที
- ท่องเที่ยว ชอปปิ้ง ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย เล่นกีฬา
- พักผ่อนให้เพียงพอ ใช้เวลากับครอบครัวหรือเพื่อนสนิทที่คอยให้กำลังใจได้ตลอดเวลา

 

 

เอกสารอ้างอิง

Cohen, S., Janicki-Deverts, D., & Miller, G. E. (2007). Psychological stress and disease. Jama, 298(14), 1685-1687.

Davidson, K. W., Mostofsky, E., & Whang, W. (2010). Don't worry, be happy: positive affect and reduced 10-year incident coronary heart disease: the Canadian Nova Scotia Health Survey. European Heart Journal, 31(9), 1065-1070.

กุลยา ตันติผลาชีวะ 2561, พลังสุขภาพสมอง Healthy Brain, เพชรประกาย:กรุงเทพฯ

         
 

 

 

 845
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์