“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

โปรตีนเกษตรกับสุขภาพใจ

โปรตีนเกษตรกับสุขภาพใจ

 

สำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติหรืออยู่ในช่วงกินเจอาจจะคุ้นเคยกับรสชาติโปรตีนเกษตรเป็นอย่างดีแต่อาจจะยังไม่ทราบถึงที่มาและคุณค่าทางโภชนาการของโปรตีนเกษตร บทความนี้จะช่วยให้ทุกคนรู้จักโปรตีนเกษตรมากยิ่งขึ้นค่ะ โปรตีนเกษตรในประเทศไทย ถูกคิดค้นและพัฒนาจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ ขาดโปรตีนในผู้ที่มีรายได้น้อย โดยผลิตจากแป้งถั่วเหลืองพร่องไขมัน

 

คุณค่าทางโภชนาการของโปรตีนเกษตร

โปรตีนเกษตร 100 กรัม  ให้พลังงานทั้งสิ้น 370 กิโลแคลอรี่

ประกอบด้วยโปรตีน 50 กรัม คาร์โบไฮเดรต 40 กรัม ใยอาหาร 14 กรัม

รวมถึง โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม ธาตุเหล็ก ไนอะซิน วิตามินบี1 และบี 2

 

         เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการระหว่างเนื้อสัตว์และเนื้อที่ผลิตจากพืชอย่างโปรตีนเกษตรแล้วพบว่า โปรตีนเกษตรมีปริมาณไขมัน คอเลสเตอรอล และเกลือโซเดียมที่น้อยกว่าเนื้อสัตว์ ด้วยเหตุนี้การรับประทานโปรตีนเกษตรจึงช่วยลดการบริโภคไขมันและเกลือโซเดียมที่ซึ่งถือเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังอย่างโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ อย่างไรก็ตาม โปรตีนเกษตรที่ผลิตจากพืชนั้นยังขาดกรดอะมิโนจำเป็นชนิดหนึ่งที่พบมากในเนื้อสัตว์ กรดอะมิโนที่มีชื่อว่า เมไทโอนีน (Methionine) นั่นเอง ผู้ที่รับประทานโปรตีนเกษตรเป็นประจำและงดการรับประทานเนื้อสัตว์จึงควรรับประทานข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต งา เมล็ดพืชหรือถั่วเปลือกแข็งที่มีกรดอะมิโนชนิดนี้อยู่ร่วมด้วยเพื่อได้รับกรดอะมิโนจำเป็นได้อย่างครบถ้วน เพื่อโภชนาการและสารอาหารที่ครบถ้วน

 

เอกสารอ้างอิง

-Pavan Kumar, M. K. Chatli, Nitin Mehta, Parminder Singh, O. P. Malav &Akhilesh K. Verma (2017) Meat analogues: Health promising sustainable meat substitutes, Critical Reviews in Food Science and Nutrition, 57:5, 923-932, DOI: 10.1080/10408398.2014.939739

-สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โปรตีนเกษตร [เอกสารออนไลน์]. http://www.ku.ac.th/kaset60/ku60/protein.html. ตุลาคม 3, 2560.

-สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โปรตีนเกษตรหรือเนื้อเทียม (Textured Vegetable Protein : TVP) [เอกสารออนไลน์]. http://ifrpd.ku.ac.th/th/products/ifrpd-protein.php. ตุลาคม 3, 2560.

 1760
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์