“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

การขอกำลังใจจากคนสำคัญ

การขอกำลังใจจากคนสำคัญ

 

เชื่อว่าหลายคงคงเคยรู้สึกไม่ดี ท้อแท้ในชีวิต มีความเครียด วิตกกังวลกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น รู้สึกว่าอยากได้กำลังใจ อยากได้คำปรึกษาจากคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสนิท เป็นคนในครอบครัว หรือผู้รับคำปรึกษามืออาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์ให้คุณได้เข้าใจปัญหาชีวิต ณ เวลานี้ และช่วยย้ำเตือนตนเองว่าชีวิตยังมีอะไรมากกว่ามาคอยวิตกกังวลกับสถานการณ์แย่ๆที่เป็นอยู่ในตอนนี้

ความวิตกกังวลโดยทั่วไปเกิดจากอะไรได้บ้าง หลักๆก็จะประกอบมาจากความเครียด ความหวาดกลัว ความจำที่ไม่ประทับใจ และความไม่มั่นใจ เป็นต้น ซึ่งมนุษย์ทุกคนมีความวิตกกังวลเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น หลายคนกังวลว่าจะต้องพูดหน้าชั้น พูดในที่สาธารณะ เพราะมีความหวาดกลัวต่อการจับจ้องของสายตาคนฟังหลายคู่ บางคนวิตกกังวลเรื่องงาน ทำงานไม่เสร็จตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย ทำการบ้านไม่เสร็จทันที่อาจารย์สั่ง ก็จะเกิดความเครียดและกลัวว่าจะไม่มีงานที่สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันส่งในเวลาที่กำหนด

 

ความวิตกกังวลเหล่านี้ อาจถูกคลี่คลายหรือผ่อนคลายลงได้ด้วยการให้กำลังใจด้วยวิธีต่างๆนานา ได้แก่

  1. การให้กำลังใจด้วยการให้คำแนะนำ นอกจากจะเป็นหนทางของการระบายความรู้สึกจากผู้วิตกกังวลแล้ว ยังเป็นแนวทางการให้วิธีคิดที่ดี แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ผู้ให้คำปรึกษาเคยประสบความสำเร็จ จากงานวิจัยพบว่าคุณพ่อคุณแม่และสมาชิกในครอบครัวมีส่วนช่วยคลายความกังวลซึ่งกันและกัน เพียงแค่หาเวลามานั่งคุย ถามไถ่ถึงสารทุกข์สุขดิบกันบ้าง
  2. การให้กำลังใจโดยการกอด การจับมือ หรือการสัมผัสเบาๆ เนื่องจากเมื่อเกิดความวิตกกังวล ความเครียดและความตื่นเต้น จะทำให้หลายๆคนทำสมาธิได้ยาก การกอดหรือจับมือเพื่อให้กำลังใจจะทำให้รู้สึกดีขึ้น หัวใจเต้นช้าลง มีสติอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้น และหากเป็นการกอดจากคนใกล้ตัวจะทำให้เกิดการผ่อนคลายกังวลได้ดี เพราะเป็นการกอดด้วยความรัก ความเอ็นดู
  3. การให้กำลังใจด้วยข้อความ การ์ด ของขวัญชิ้นเล็กๆ บางคนไม่ต้องการกำลังใจชนิดใหญ่โต เพียงแค่ต้องการข้อความสั้นๆ เพื่อให้กำลังใจ ให้ลุกขึ้นสู้ต่อไปกับงานที่ทำอยู่ หรือกับปัญหาที่เผชิญอยู่ ผ่านทางหน้าจอมือถือ หรือการ์ดให้กำลังใจสัก 1 ใบ ก็รู้สึกดีขึ้นมากแล้ว

 

จะเห็นได้ว่าการขอกำลังใจจากใครสักคน หรือการให้กำลังใจกับใครสักคนนั้นสำคัญและควรทำสม่ำเสมอ

นอกจากคลายความวิตกกังวลได้แล้ว ยังช่วยทำให้ผู้รับและผู้ให้กำลังใจมีความสุขโดยอัตโนมัติไม่รู้ตัว  

 

 

เอกสารอ้างอิง

Kolko, B. (1997). for Adolescent Depression Comparing Cognitive, Family, and Supportive Therapy. Arch Gen Psychiatry, 54, 877-885.

เขียนโดย เปลื้อง ณ นคร บรรณาธิการโดย เบญญาวัธน์, จากหนังสือวิธีคิดเพื่อสร้างกำลังใจ และเปลี่ยนแปลงตนเอง แนวทางพัฒนาตนเองเพื่อความสุข ความสำเร็จสำหรับชีวิต

 11496
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์