“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

รู้จัก รู้จริง เรื่องความแตกต่างของรองเท้ากีฬา

รู้จัก รู้จริง เรื่องความแตกต่างของรองเท้ากีฬา

 

การเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่หลายคนชื่นชอบ และปฎิบัติเป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ นอกจากการเลือกประเภทของกีฬาที่เราชอบ อุปกรณ์ที่จับถนัดมือ เสื้อผ้าที่เข้ากับรูปร่างกับตัวเราแล้ว การเลือกรองเท้ากีฬานั้นยังเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากเลือกใช้รองเท้าผิดประเภทหรือผิดวัตถุประสงค์อาจเกิดอาการบาดเจ็บ เช่น เท้าอักเสบ แผลจากการเสียดสี การบาดเจ็บของกระดูก ข้อต่อ หรือเส้นเอ็น ตามมาได้

 

หากแบ่งรองเท้าตามประเภทของกีฬา สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. รองเท้าสำหรับวิ่ง (Running Shoes)

เนื่องจากขณะที่วิ่งจะมีการลงน้ำหนัก 2-3 เท่าของน้ำหนักตัวบริเวณส้นเท้า ดังนั้นรองเท้าวิ่งควรทำมาจากวัสดุพิเศษ เพื่อเอื้อต่อการกระจายแรงกระแทกไปสู่ส่วนต่างๆ ลดแรงกระเทกบริเวณส้นเท้า จะเห็นได้ว่ารองเท้าประเภทนี้จะมีความหนาของส้นรองเท้า และมีลักษณะกว้างบานออก เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการวิ่งและส่งเสริมสมรรถนะการวิ่ง ลดการใช้งานและอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อน่องและขา

 

2. รองเท้ากีฬาประเภทคอร์ท (Court Shoes)

สำหรับกีฬาเเบดมินตัน เทนนิส สควอชที่มีการเคลื่อนไหวเฉพาะตัว กล่าวคือ ท่าเตรียมน้ำหนักตัวจะกดลงบริเวณปลายเท้า มีการเคลื่อนไหว หน้า-หลัง ซ้าย-ขวา อย่างรวดเร็ว สลับกับมีการกระโดด เพราะฉะนั้นรองเท้าที่เหมาะสมความมีการรองรับการกระแทกทุกทิศทาง และควรเป็นรองเท้าหุ้มข้อซึ่งจะสามารถประคองส้นเท้าไม่ให้พลิกตะแคง หรือเกิดการบาดเจ็บขณะเปลี่ยนทิศทางได้ และที่สำคัญคือพื้นรองเท้า ต้องมีความหนาและทำจากวัสดุที่ยืดหยุ่น ป้องกันการลื่นจากการเคลื่อนไหว หรือการลากเท้าไปในทิศทางต่างๆอย่างรวดเร็ว

 

3. รองเท้ากีฬาประเภทสนาม (Field Shoes)

ค่อนข้างคล้ายกับรองเท้าประเภทคอร์ทที่ต้องรองรับกับการเคลื่อนไหวทุกทิศทางอย่างรวดเร็ว แต่รองเท้าประเภทนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับการยึดเกาะกับพื้นผิวสนาม ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะต่อกีฬานั้นๆ ได้แก่ รองเท้าที่ใช้เตะบอล จะถูกออกแบบพื้นรองเท้าที่มีปุ่มมากมาย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะกับพื้นสนามและป้องกันการลื่นล้ม รองเท้าเล่นกอล์ฟ ก็จะมีคุณสมบัติช่วยถ่ายเทน้ำหนักซ้ายหรือขวาตามวงสวิงของผู้เล่นให้ทรงตัวได้ดี

 

เมื่อเราเลือกรองเท้าได้เหมาะสมถูกต้องแล้ว

ก็จะทำให้เราออกกำลังกายได้สนุกขึ้น

และปลอดภัยต่ออาการบาดเจ็บขณะออกกำลังกายด้วยนะคะ

 

 

เอกสารอ้างอิง

กุลภา ศรีสวัสดิ์, รองเท้ากีฬาความเหมือนที่แตกต่าง, ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/491_1.pdf

 1237
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์