“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

หูฟัง เพื่อนซี้คนใหม่ในออกกำลังกาย

หูฟัง เพื่อนซี้คนใหม่ในออกกำลังกาย

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหนๆ ก็จะพบเห็นคนใส่หูฟังเป็นเรื่องปกติ ในสนามวิ่ง ในฟิตเนสหรือพื้นที่ออกกำลังกายสาธารณะอื่นๆก็เช่นกัน เพราะการใช้หูฟังขณะออกกำลังกายนอกจากจะทำให้รู้สึกเพลิดเพลินแล้ว การฟังเพลงนั้นยังช่วยให้มีสมาธิ จิตใจไม่วอกแวก และป้องกันอาการเบื่อหน่ายขณะออกกำลังกายได้อีกด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการฟังเพลงระหว่างออกกำลังกาย ช่วยให้การออกกำลังกายได้ระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น

 

9 ข้อแนะนำสำหรับการเลือกหูฟังคู่ใจ

  1. เลือกหูฟังที่ออกแบบมาเพื่อการออกกำลังกายโดยเฉพาะ สังเกตได้จากวัสดุที่ใช้ จะมีความแข็งแรงกว่าปกติ ไม่เปราะบาง สายไม่ขาดง่าย
  2. เลือกหูฟังระบุว่ากันน้ำหรือกันความชื้น ควรเป็นหูฟังที่หุ้มด้วยจุกยางพลาสติกดีกว่าใช้ฟองน้ำ เพราะระหว่างการออกกำลังกายจะมีเหงื่อเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เหงื่อที่ออกมา จะซึมเข้าหูฟัง ทำให้ลำโพงเสียเร็ว และเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ก่อให้เกิดความสกปรกและตัวสะสมของแบคที่เรียอีกด้วย
  3. ก่อนตัดสินใจซื้อหูฟัง ควรลองใส่จริง เปิดเพลง และทำท่าทางเลียนแบบขณะออกกำลังกาย เช่น โยกคอไปมา สะบัดหัว กระโดด วิ่งเหยาะๆ หรือขยับร่างกาย เพื่อให้มั่นใจว่าใส่แล้วหูฟังนั้นแน่นกระชับกับสรีระของหูผู้ใช้
  4. ถ้าเป็นไปได้เลือกซื้อหูฟังที่รองรับการรับประกันนานไม่น้อยกว่า  1  ปี และมีบริการหลังการขายที่น่าเชื่อถือ หากเกิดปัญหากับหูฟังภายในระยะเวลารับประกันก็สามารถส่งซ่อมได้ทันที
  5. สำหรับการออกกำลังกายแนวโลดโผนผจญภัย เช่น วิ่งมาราธอน , วิ่งวิบาก, ปีนเขา ควรเลือกหูฟังรุ่นที่สายถักทอด้วยเส้นใยเคฟล่า เนื่องจากจะสามารถเพิ่มความแข็งแรงของสาย ไม่ขาดหรือเปื่อยง่าย มีความทนทานทนต่อทุกสภาวะมากยิ่งขึ้น
  6. สำหรับการออกกำลังกายช่วงกลางคืน ควรเลือกหูฟังชนิดที่มีสายเคลือบเรืองแสง ทำให้ปลอดภัยและมองหาง่ายขึ้นในเวลากลางคืน
  7. แนวเพลงที่ใช้ฟังในการออกกำลังกายควรเป็นดนตรีมันๆ เน้นเบส กระตุ้นให้สนุกกับการออกกำลังกายอยู่ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มความฮึกเหิมและแรงบันดาลใจให้รู้สึกอยากออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น
  8. สำหรับนักวิ่ง แนะนำว่าให้สอดสายหูฟังไว้ในเสื้อเพื่อที่เวลาวิ่งสายจะได้ไม่กระเด้งกระทบตัวเราให้รำคาญ
  9. เมื่อออกกำลังกายเสร็จแล้ว ควรทำความสะอาดโดยการเช็ดหูฟังด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำ ควรถอดจุกยางออกมาล้าง แล้วผึ่งลมให้แห้งก่อนเก็บ ไม่ควรม้วนสายหูฟังแน่นจนสายหัก เพราะอาจทำให้ระบบภายในหูฟังเสียหายได้

 

 

เอกสารอ้างอิง

จิริสุดา ฉันทจิตปรีชา (2015), เลือกหูฟังอย่างไร ให้เหมาะสมกับการวิ่ง, Fit Your Bone Run For Healthy Bone, Vol. October 2015, E-Magazine

 564
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์