“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

เจ็บข้อ ปวดเข่า ออกกำลังกายได้หรือไม่

เจ็บข้อ ปวดเข่า ออกกำลังกายได้หรือไม่

 

            เรื่องนี้ต้องบบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่ถกเกียงกันมาก ว่าควรแนะนำผู้สูงอายุที่ข้อเข่าเริ่มเสื่อมไปตามวัย หรือมีปัญหาเรื่องปวดเข้านั้น ให้ออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน บ้างก็ว่าไม่ควรออกกำลังกายแล้วเพราะจะทำให้อาการปวด อาการเจ็บมากขึ้นกว่าเดิม แต่บ้างก็ว่าหากออกกำลังกายอย่างถูกวิธีกลับส่งผลดีต่ออาการปวดข้อปวดเข่าให้บรรเทาทุเลาลงได้ด้วย จากคำแนะนำสำหรับการออกกำลังกายในคนที่มีอาการปวดเข่า ของสมาคมผู้สูงอายุในประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าให้หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ แต่ไม่ใช่การออกกำลังกายแบบใช้แรงกระแทกอย่างหนัก เช่น กระโดด หรือวิ่ง เป็นต้น เนื่องจากประโยชน์ที่ได้จากการออกกำลังกายเป็นส่วนช่วยสำคัญของการลดอาการปวดเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบหัวเข่า ลดอาการเจ็บปวด เพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่า ช่วยยืดกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นยืดข้อต่อ และเยื่อหุ้มรอบข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าสามารถเคลื่อนไหวได้คล่อง และราบรื่นมากขึ้น เนื่องจากอาการปวดเข่าส่วนหนึ่งมาจากการที่กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง ในขณะที่ข้อเข่าอยู่ในภาวะอักเสบ เพิ่มระดับความสมดุลของร่างกาย เพื่อป้องกันการหกล้ม รวมทั้งเพิ่มความทนทานของหัวใจและการหายใจ อีกทั้งช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ให้เข่าหรือบริเวณส่วนลำตัวช่วงล่างของร่ากายรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป และการรักษาน้ำหนักให้สมส่วนยังช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ  โรคอ้วน และโรคเบาหวานชนิดที่  2  ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังได้อีกด้วย

โดยแนะนำให้ปฏิบัติตาม ดังนี้

  1. เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์  นักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการตรวจประเมินระดับอาการเจ็บปวด บริเวณที่เจ็บปวด การเสื่อมของข้อ และการเคลื่อนไหวของข้อ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการค้นหารูปแบบของการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  2. เข้าทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ทั้งความแข็งแรง ความทนทานและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ รวมถึงความทนทานของหัวใจ อัตราการหายใจ ชีพจร เพื่อค้นหาระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด หรือทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเมื่อยล้ามากเกินไป ในบริบทการออกกำลังกายที่ร่างกายสามารถทนไหว
  3. วางโปรแกรมการออกกำลังกาย (ควรทำร่วมกับนักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย) โดยเน้นไปที่กิจกรรมการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักบนข้อเข่าให้น้อยที่สุด และไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด

 

เอกสารอ้างอิง

ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2552), สุขภาพดี...ในที่ทำงาน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพฯ

 

 

 1661
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์