“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

รู้หรือไม่? อาการท้องผูกเป็นสัญญาณไปสู่โรคหัวใจ

รู้หรือไม่? อาการท้องผูกเป็นสัญญาณไปสู่โรคหัวใจ

ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้คนไทยวัยทำงานส่วนใหญ่ต้องกินอาหารสำเร็จรูปที่หาได้ง่ายๆ ตามร้านสะดวกซื้อซึ่งไม่ค่อยมีผักผลไม้ และธัญพืชที่มีใยอาหาร หลายคนจึงมีปัญหาท้องผูก  ซึ่งกระทบกับการทำงานด้วยเช่นเสียเวลาทำธุระส่วนตัวยามเช้าในระยะยาวก็เป็นผลเสียต่อลำไส้ได้

คนที่กินผักผลไม้น้อย ก็มักจะรับประทานอาหารหมู่อื่นๆ ในสัดส่วนที่มากเกินไป เช่นไขมัน คาร์โบไฮเดรต ซึ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจด้วยฉะนั้นผู้ที่มีอาการท้องผูกก็อาจเป็นสัญญาณว่าคนคนนั้นเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ เพราะเมื่อไม่ค่อยบริโภคผักผลไม้ ก็ต้องกินอย่างอื่นมากเพื่อให้อิ่ม

จากงานวิจัยที่ชื่อว่า Women’s Health Initiative พบว่าในหญิงชาวอเมริกันกว่า 90,000 คน ที่ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อติดตามเป็นระยะเวลาเฉลี่ย 7 ปี ผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังปานกลางถึงรุนแรง จะมีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด คือแน่นหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ  และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ สูงกว่าผู้ที่ไม่มีอาการท้องผูกถึง 2 เท่าอาการท้องผูกจึงสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆ เช่น กินเส้นใยอาหารน้อย ออกกำลังกายน้อย สูบบุหรี่ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ

ใยอาหารพบมากในผัก เช่นคะน้า กวางตุ้ง ผักโขม ผลไม้ เช่น ส้ม มะละกอ และผลไม้ที่กินได้ทั้งเปลือก ธัญพืชเช่น ถั่ว งา ข้าวกล้อง ฯลฯ ซึ่งเราควรรับประทานอย่างหลากหลาย รวมอาหารที่อุดมไปด้วยใยอาหารให้ได้ประมาณ 5 ทัพพีต่อวัน นอกจากนี้ยังต้องดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอด้วย  เพราะมีส่วนช่วยป้องกันอาการท้องผูกเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม บางคนก็ท้องผูกเพราะการกินยาบางประเภท เช่น ยาลดกรด ยาแก้แพ้ ยาขับปัสสาวะ ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาแก้ไอ ยาแก้ปวด ซึ่งควรกินตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้นถ้าจำเป็นต้องกินยาเหล่านี้จริงๆ   ก็ควรกินใยอาหารเพิ่มขึ้น และดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 1-2 ลิตรสิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาถ่ายต่างๆ เพราะถ้ากินมากไปอาจทำให้ท้องผูกได้ในระยะยาวเช่นกัน


แหล่งข้อมูล : 
ท้องผูก ใครคิดว่าไม่สำคัญ doctor.or.th/article/detail/13845
สุขภาพดีอยู่ที่กินและถ่าย (Slim up)  : พญ.ศันสนีย์  อำนวยสกุล  health.kapook.com/view7313.html
หนังสือ "อยากสุขภาพดีต้องมี  3อ. สำหรับวัยทำงาน" ,มูลนิธิหมอชาวบ้าน และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

 664
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์