“ ด้วยเชื่อมั่นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ ”

ถึงเวลาเติมเบต้าแคโรทีนให้ร่างกายแล้ว

ถึงเวลาเติมเบต้าแคโรทีนให้ร่างกายแล้ว

 

เมื่อพูดถึง เบต้าแคโรทีน บางคนคงสงสัยว่ามันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร? เบต้าแคโรทีนก็คือสารตั้งต้นของวิตามินเอ ปกติในร่างกายมนุษย์เรานี้สามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนให้เป็นวิตามินเอได้ตามกลไกอันซับซ้อนของร่างกายเรา เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินเอในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ

 

บทบาทที่สำคัญ ได้แก่

เป็นสารพฤกษเคมีและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และการเกิดโรคมะเร็ง

เมื่อเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ก็จะช่วยการทำงานของการมองเห็น ให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ลดความเสื่อมสภาพของเซลล์ของลูกตา เยื่อบุตา กระจกตา

ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันโดยรวมของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แหล่งอาหารที่พบเบต้าแคโรทีน

ส่วนใหญ่นั้นเราจะทราบว่าเบต้าแคโรทีน พบมากในผักและผลไม้ที่มีรงควัตถุสีส้ม เหลืองหรือแดง เช่น แครอท ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน มะละกอสุก แตงโม มะม่วงสุก แคนตาลูปสีส้ม แต่ในผักที่มีสีเขียวเข้มก็มีปริมาณเบต้าแคโรทีนอยู่มากเช่นกัน ได้แก่ บรอคโคลี มะระ ผักบุ้ง ต้นหอม ผักคะน้า ผักตำลึง ผักกระเฉด ผักพูม ผักกูด สะเดา ยอดมะระหวาน  เป็นต้น

 

เมนูง่ายๆสำหรับการเพิ่มเบต้าแคโรทีนในอาหาร เนื่องจากแหล่งของเบต้าแคโรทีนนั้นอยู่ในผักและผลไม้ อาจเตรียมเป็นสลัด ได้แก่ แครอท ข้าวโพด บรอคโคลี่ มะเขือหลากสี แช่เย็นๆ และนำออกมาราดน้ำสลัดที่ชื่นชอบ หรือใครที่ชอบเมนูไทยๆ แนะนำเป็นผัดผักบุ้ง ผัดผักกระเฉดไฟแดง ผัดยอดมะระหวาน แกงจืดตำลึง รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยและยังได้สุขภาพอีกด้วย

 

 

เอกสารอ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ (2554) โภชนาการกับผัก, สารคดี:กรุงเทพฯ

Gul, K., Tak, A., Singh, A. K., Singh, P., Yousuf, B., & Wani, A. A. (2015). Chemistry, encapsulation, and health benefits of β-carotene-A review. Cogent Food & Agriculture, 1(1), 1018696.

 437
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์